การควบคุมความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุด - Powermeterline | พาวเวอร์มิเตอร์ไลน์ - อุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้า
การวัดความต้องการกําลังไฟฟ้า
เมษายน 29, 2019
ตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า (Load Factor)
พฤษภาคม 1, 2019

การควบคุมความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุด


แนวคิดการควบคุมความต้องการกําลังไฟฟ้า



1) การควบคุมความต้องการกําลังไฟฟ้า
   - กําหนดระดับความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุดที่ต้องการควบคุม เช่น ไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์
2) การควบคุมปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในทุก ๆ 15 นาที
   - จากระดับความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุดที่ต้องการควบคุมให้แปลงเป็นปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ยอม ให้ใช้ในทุก ๆ 15 นาที เช่น แปลงจาก 1,000 กิโลวัตต์เป็น 250 หน่วย
3) แบ่งกลุ่มเครื่องจักร
   - ทําการสํารวจลักษณะการทํางานของเครื่องจักรแล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะการ ทํางาน คือ กลุ่มที่กําหนดเวลาทํางานที่แน่นอนได้ เช่น ทํางานเป็นวัฏจักรมีแบบแผนชัดเจน กับ กลุ่มที่กําหนดเวลาทํางานที่แน่นอนไม่ได้
4) กลุ่มที่กําหนดเวลาทํางานที่แน่นอนได้
   - สํารวจวัฏจักรการทํางาน ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการทํางานแต่ละคาบ
   - แบ่งปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละคาบออกเป็นทุก ๆ ช่วง 15 นาที
5) จัดตารางเวลาทํางานเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้งานพร้อม ๆ กัน
   - การใช้งานพร้อม ๆ กัน ในที่นี้หมายถึง การใช้พลังงานในปริมาณมาก ๆ พร้อม ๆ กันในแต่ละ คาบเวลา 15 นาที
- ทดลองปรับเลื่อนเวลาทํางานให้หลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณมาก ๆ พร้อมกันใน คาบเวลา 15 นาที

อุปกรณ์ตัวที่ 1
   • ทํางานเป็นวัฏจักร 30 นาที
   • ทํางาน 20 นาที กินไฟ 60 กิโลวัตต์
   • หยุดพัก 10 นาที กินไฟ 0 กิโลวัตต์

อุปกรณ์ตัวที่ 2
   • ทํางานเป็นวัฏจักร 30 นาที
   • ทํางาน 20 นาที กินไฟ 30 กิโลวัตต์
   • หยุดพัก 10 นาที กินไฟ 6 กิโลวัตต์


การจัดการทํางานรูปแบบที่ 1



แสดงรูปแบบการจัดการการทํางานของอุปกรณ์รูปแบบที่ 1 พบว่าในคาบ 15 นาทีแรก จะใช้ พลังงานไปทั้งหมด = 22.5 หน่วย คิดเป็นความต้องการกําลังไฟฟ้าได้ 4 X 22.5 = 90 กิโลวัตต์ และคาบ 15 นาทีต่อมา จะใช้พลังงานไปทั้งหมด = 6.5 หน่วย แปลงเป็นความ ต้องการกําลังไฟฟ้าได้ 4 x 6.5 = 26 กิโลวัตต์ แสดงให้เห็นว่าถ้าเลื่อนเวลาทํางานของอุปกรณ์ 2 ตัวนี้ให้ เหมาะสมสามารถทําให้ความต้องการ กําลังไฟฟ้าลดลงจาก 90 กิโลวัตต์มาอยู่ที่ประมาณ = 58 กิโลวัตต์ได้ ลดลงไปประมาณ 32 กิโลวัตต์


การจัดการทํางานในรูปแบบที่ 2



แสดงรูปแบบการจัดการการทํางานของอุปกรณ์รูปแบบที่ 2 พบว่าในคาบ 15 นาทีแรกจะใช้ พลังงานไฟฟ้าไปทั้งหมด = 14.5 หน่วย คิดเป็นความต้องการกําลังไฟฟ้าได้ 4 x 14.5 = 58 กิโลวัตต์ และคาบ 15 นาทีที่ 2 จะใช้พลังงานไฟฟ้าไปทั้งหมด = 14.5 หน่วย คิดเป็นความต้องการกําลังไฟฟ้าได้ 4 x 14.5 = 58 กิโลวัตต์
ซึ่งเท่ากับที่คิดได้จากคาบ 15 นาทีแรก

6) กลุ่มที่กําหนดเวลาทํางานที่แน่นอนไม่ได้
   - เป็นอุปกรณ์ที่การทํางานไม่เป็นวัฏจักร ตัวอย่างอุปกรณ์ในสํานักงานได้แก่ลิฟต์ บันไดเลื่อน
   - ทําการสํารวจ แล้วแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ควบคุมการทํางานซ้อนไม่ได้ กับกลุ่มที่ ควบคุมการทํางานซ้อนได้

7) ควบคุมการทํางานซ้อนไม่ได้
   - การควบคุมการทํางานซ้อน คือ การควบคุมเพิ่มเติมจากสภาพการทํางานตามปกติ
   - กลุ่มอุปกรณ์ที่ไม่สามารถควบคุมการทํางานซ่อนได้ เพราะจะทําให้เกิดความเสียหายใน การ ทํางาน หรือสภาพการทํางานที่ไม่เหมาะสม เช่น ขณะที่ลิฟต์หรือบันไดเลื่อนกําลังทํางานอยู่ ตามปกติ คงไม่สามารถสั่งหยุดการทํางานกะทันหันได้

8) ควบคุมการทํางานซ่อนได้
   - อุปกรณ์กลุ่มนี้จะเป็นอุปกรณ์เป้าหมายที่ใช้ในการลดความต้องการกําลังไฟฟ้าในช่วงเวลาวิกฤต ที่จะเกิดความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงเกินค่าที่กําหนดไว้ เป็นอุปกรณ์อะไรก็ได้ที่เมื่อมีการ ควบคุมซ้อนเพิ่มเติมเข้าไปจากการควบคุมหลักแล้ว ไม่เกิดผลเสียในการทํางาน ตัวอย่างเช่น ปั้ม น้ําขึ้นถังสูง หากน้ําในถังมีระดับสูงพอสมควร เราสามารถสั่งหยุดปั้มชั่วขณะซ้อนจากการทํางาน ตามสภาพปกติได้


การควบคุมซ้อนในระบบปั้มน้ําขึ้นถังสูง



9) ควบคุมแบบเปิด – ปิด
   - การควบคุมแบบนี้คือการสั่งเปิดหรือปิดอุปกรณ์ โดยใช้คอนแทคเตอร์เป็นตัวตัด – ต่อวงจร อุปกรณ์ เช่น การควบคุมมอเตอร์ปั้ม
   - การควบคุมแบบนี้คือการสั่งเปิดหรือปิดอุปกรณ์แบบง่ายไม่ซับซ้อนใช้อุปกรณ์ไม่มาก แต่อาจเกิด ผลเสียหากมีการตัด-ต่อวงจรบ่อย ๆ อาจทําให้อุปกรณ์อายุสั้นได้

10) ควบคุมแบบปรับระดับการทํางาน
    - การควบคุมแบบนี้ใช้เงื่อนไขว่าความต้องการกําลังไฟฟ้าคิดมาจาก 4 เท่าของปริมาณพลังงานที่ใช้ ในเวลา 15 นาที หากในช่วงดังกล่าวสามารถสั่งให้อุปกรณ์ใช้พลังงานลดลง 1 หน่วย ก็จะลด ความต้องการกําลังไฟฟ้าได้ 4 กิโลวัตต์
    - การควบคุมแบบนี้มีความซับซ่อนและใช้อุปกรณ์เสริมมากกว่าแบบเปิด – ปิด ธรรมดา แต่ให้ ข้อดี คือ เป็นการควบคุมแบบต่อเนื่อง ไม่มีผลกับอายุของอุปกรณ์
   - ตัวอย่างการควบคุมแบบนี้ ได้แก่ การใช้อุปกรณ์หรี่แสงในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง การใช้ระบบ ขับเคลื่อนแบบปรับความเร็วได้ กับมอเตอร์เหนี่ยวนําที่ขับปั้ม พัดลม เครื่องอัดอากาศ เครื่องทํา ความเย็น สายพานลําเลียง เป็นต้น


⚡ POWERMETERLINE⚡วัดค่ากระแสไฟฟ้า(AC)นะคะ ได้ทั้งบ้าน โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล ฯ เพียงขอให้มีกระแสเราก็สามารถวัดได้นะคะ!!!!

💌 Inbox : m.me/powermeterline
📞 02-068-0699
📱 096-750-9982
💚 LINE@ : @Powermeterline (อย่าลืมใส่@ข้างหน้าตอนพิมพ์ชื่อด้วยนะคะ)

: 3,002

Powermeterline
Powermeterline
Powermeterline

Comments are closed.