ตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า (Load Factor) - Powermeterline | พาวเวอร์มิเตอร์ไลน์ - อุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้า
การควบคุมความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุด
April 30, 2019
กฟน. เตือนระวังมิจฉาชีพบุกถึงบ้าน แอบอ้างขอเก็บค่าไฟฟ้า หากไม่จ่ายขู่ตัดไฟ
กฟน. เตือนระวังมิจฉาชีพบุกถึงบ้าน แอบอ้างขอเก็บค่าไฟฟ้า หากไม่จ่ายขู่ตัดไฟ
May 2, 2019
การควบคุมความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุด
April 30, 2019
กฟน. เตือนระวังมิจฉาชีพบุกถึงบ้าน แอบอ้างขอเก็บค่าไฟฟ้า หากไม่จ่ายขู่ตัดไฟ
กฟน. เตือนระวังมิจฉาชีพบุกถึงบ้าน แอบอ้างขอเก็บค่าไฟฟ้า หากไม่จ่ายขู่ตัดไฟ
May 2, 2019

ตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า (Load Factor)


      ในการพิจารณาเพื่อค่าความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุดจําเป็นต้องทําความเข้าใจกับคําว่าตัวประกอบโหลด (Load factor) เสียก่อน ตัวประกอบโหลดเป็นค่าที่ได้จากการวัดความสม่ําเสมอของการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมี สมการการคํานวณดังนี้


หรือ ตัวประกอบโหลด


       พิจารณาสมการตัวประกอบโหลด จะเห็นว่าตัวแปรที่ทําให้เปอร์เซ็นต์ตัวประกอบโหลดสูงหรือต่ําจะมีอยู่ 2 ตัวคือ จํานวนหน่วยพลังงานที่ใช้ (กิโลวัตต์ชั่วโมง) และจํานวนกิโลวัตต์สูงสุดหรือความต้องการกําลังไฟฟ้า สูงสุด

      วิธีการที่จะเพิ่มค่าตัวประกอบโหลดให้สูงขึ้นสามารถกระทําได้ 2 วิธีคือ
      (1) ลดจํานวนค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ลง
      (2) ปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีความสม่ําเสมอในการใช้งาน เพื่อลดการใช้จํานวนกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลง เช่นสลับการทํางาน แบ่งกะในการทํางานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดความสมดุลกับจํานวนความต้องการ พลังงานไฟฟ้าสูงสุด ทําให้เพิ่มค่าตัวประกอบโหลด ส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าที่ลดลง เป็นการทราบกันโดยทั่วไปว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละรายมีการใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ผู้ใช้ไฟฟ้าบางกลุ่มจะ ใช้ไฟฟ้าค่อนข้างจะสม่ําเสมอตลอดเวลา ในขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าอีกกลุ่มหนึ่งอาจใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา การที่จะบอกว่าผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ําเสมอหรือเปลี่ยนแปลงมาก สามารถบอกได้โดยใช้ตัว ประกอบการใช้ไฟฟ้าหรือโหลดแฟคเตอร์โดยตัวย่อว่า LF



ความต้องการกําลังไฟฟ้าค่าสูงสุดในช่วงเวลาที่กําหนด

      โหลดแฟกเตอร์ในช่วงเวลา 1 วันของผู้ใช้ไฟฟ้า 2 ราย ที่มีรูปแบบการใช้ไฟฟ้า ดังแสดงในรูป สามารถหาได้ดังนี้

ผู้ใช้ไฟฟ้ารายที่ 1 มีความต้องการกําลังไฟฟ้าค่าเฉลี่ยเป็น 200 kW และมีความต้องการกําลังไฟฟ้าค่าสูงสุด เป็น 250 kW จึงได้

ผู้ใช้ไฟฟ้ารายที่ 2 มีความต้องการกําลังไฟฟ้าค่าเฉลี่ยเป็น 150 kW และมีความต้องการกําลังไฟฟ้าค่าสูงสุด เป็น 250 kW จึงได้

      การพิจารณาตัวประกอบโหลดรายเดือนก็เพื่อที่จะทราบศักยภาพในการลดค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า สูงสุด ตัวอย่างเช่น โรงงานแห่งหนึ่งทํางาน 24 ชั่วโมง มีตัวประกอบโหลดรายเดือน 60% แต่ตัวประกอบโหลดราย เดือนที่เหมาะสม ควรไม่น้อยกว่า 80% จึงควรหาวิธีปรับปรุง ตัวประกอบโหลดของโรงงานต่อไป ซึ่งสามารถ พิจารณาได้จากตัวประกอบโหลดรายวัน โดยเริ่มจากช่วงเวลาที่ใช้ไฟฟ้าสูง และช่วงเวลาที่ใช้ไฟฟ้าต่ําในแต่ละวัน ส่วนในการพิจารณาตัวประกอบโหลดรายวันนั้น ก็เพื่อที่จะใช้ในการวางแผนดําเนินการ ซึ่งจะต้องพิจารณาควบคู่ กับตัวประกอบโหลดประจําสัปดาห์ เช่นบางโรงงานสามารถจัดให้เครื่องจักรทํางานได้อย่าง ต่อเนื่องใน 7 วัน


การคํานวณหาค่าตัวประกอบโหลดรายวัน

    ตัวอย่าง  โรงงานแห่งหนึ่งทํางาน 16 ชั่วโมง มีการบันทึกปริมาณพลังงานไฟฟ้าทุกๆชั่วโมง ตลอด 24 ชั่วโมง ปรากฏดังตารางข้างล่างนี้

การบันทึกปริมาณพลังงานไฟฟ้า


จากตารางข้างบนนี้ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดเท่ากับ 7,040 kWh


การเขียนกราฟโหลด (Load curve)

    นําผลจากการบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าในรายชั่วโมงมาจัดทํากราฟโหลดจะเห็นว่าในช่วงเวลา 0.00 – 24.00 น. ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 50 kWh หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในช่วงเวลานั้น มีความต้องการ พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 50 kW นั่นเอง ดังนั้นจึงสามารถที่จะนําปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลามาจัดทํา เป็นกราฟโหลดได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะทําให้ทราบโครงสร้างการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างถูกต้อง ดัง แสดงในรูป กราฟโหลด (Load curve)

กราฟโหลด (Load curve)


วิธีหาค่าตัวประกอบโหลดรายวันที่เหมาะสม

      ค่าตัวประกอบโหลดที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับชั่วโมงปฏิบัติงานของโรงงาน ถ้าทํางานวันละ 24 ชั่วโมง ค่าตัว ประกอบโหลดที่เหมาะสมควรมีค่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ถ้าทํางานวันละ 16 ชั่วโมง ค่าตัวประกอบโหลดที่เหมาะสมจะมีค่า

และถ้าทํางานวันละ 8 ชั่วโมง ค่าตัวประกอบโหลดที่เหมาะสมจะมีค่า



    จากตัวอย่าง พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง = 293.33 kW โรงงานทํางานวันละ 16 ชั่วโมง ค่าตัวประกอบโหลดที่เหมาะสม = 53.33% พลังงานไฟฟ้าสูงสุดใน 24 ชั่วโมง

ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่เหมาะสมมีค่า 550 kW



สรุป

    วิธีการและแนวทางแก้ตัวประกอบกําลังไฟฟ้าที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นวิธีหนึ่งที่ โรงงาน อุตสาหกรรม/ อาคาร สามารถนําไปใช้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าลงได้มาก แต่ต้องมีการลงทุนในการ ติดตั้งอุปกรณ์ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่สูงพอสมควร โดยเฉพาะในบางหน่วยงานที่มีความจําเป็นในการแก้ปัญหา ค่าตัวประกอบกําลังไฟฟ้า และไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียกําลังไฟฟ้า หรือพยายามให้เกิดน้อยที่สุด มักใช้ระบบ ไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามาควบคุมและประมวลผล เพื่อควบคุมอุปกรณ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ส่งผลให้การ ทํางานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถพัฒนาระบบได้ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผลดีกับเครือข่ายตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ การดําเนินการจึงจะต้องทําการพิจารณาอย่าง รอบคอบ แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวแล้วการแก้ไขตัวประกอบกําลังไฟฟ้านับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและน่าสนใจ มาก

    ค่าธรรมเนียมที่คิดจากค่าความต้องการกําลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดของเดือนนั้น อัตราค่าพลังงาน ไฟฟ้าสูงสุดมีหน่วยบาทต่อกิโลวัตต์ ถูกกําหนดโดยต้นทุนที่ใช้ในการสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่งและจําหน่ายให้แก่ ผูกใช้ไฟฟ้า จึงมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ระดับแรงดัน ไฟฟ้า และตามช่วงเวลาของวัน ซึ่ง การกําหนดให้มีโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าแตกต่างกันตามประเภทผู้ใช้ ไฟฟ้า เพื่อต้องการให้อัตราค่าไฟฟ้า สอดคล้องกับลักษณะของการใช้ไฟฟ้าและเพื่อสะท้อนถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด รวมทั้งส่งเสริมให้มี การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีการใช้ไฟฟ้าน้อยลงในช่วงความต้องการสูงสุด


⚡ POWERMETERLINE⚡วัดค่ากระแสไฟฟ้า(AC)นะคะ ได้ทั้งบ้าน โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล ฯ เพียงขอให้มีกระแสเราก็สามารถวัดได้นะคะ!!!!

💌 Inbox : m.me/powermeterline
📞 02-068-0699
📱 096-750-9982
💚 LINE@ : @Powermeterline (อย่าลืมใส่@ข้างหน้าตอนพิมพ์ชื่อด้วยนะคะ)

: 34,953

Powermeterline
Powermeterline
Powermeterline

Comments are closed.