Circuit Breaker - Powermeterline | พาวเวอร์มิเตอร์ไลน์ - อุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้า
ตู้ MDB คืออะไร?
กรกฎาคม 14, 2025
ตู้ MDB คืออะไร?
กรกฎาคม 14, 2025

Circuit Breaker

: 0

Circuit Breaker (เบรกเกอร์) คืออะไร

Circuit Breaker (เบรกเกอร์)  คือ สวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้า
จากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน โดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร
การทำงานของมันคือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า

ประเภทของเบรกเกอร์

เบอรกเกอร์จะถูกแบ่งออกเป็นแต่ละประเภทตามพิกัดแรงดันไฟฟ้า จะแบ่งได้ 3 ประเภท

ได้แก่ Low Voltage, Medium Voltage และ High Voltage  เบรกเกอร์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้

กันในบ้านพักอาศัยคือ Low Voltage ได้แก่พวก MCB, MCCB และ ACB เบรกเกอร์เหล่านี้

จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามการออกแบบ ทั้งขนาด รูปร่างที่ถูกออกแบบมา

ให้เข้ากับการใช้งานหลากหลายประเภท

   1. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breakers)
circuit breaker นิยมติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทและตู้โหลดเซ็นเตอร์ ตัวอย่างเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ
มีดังนี้ MCB, RCDs, MCCB และ ACB โดยในบ้านพักอาศัยจะใช้ประเภท MCB มากที่สุด

– MCB (Miniature Circuit Breakers) หรือที่ชอบเรียกกันว่าเบรกเกอร์ลูกย่อยหรือเรียกบ้านๆ
ว่าลูกสกิต มีขนาดเล็ก ใช้ในบ้านพักอาศัยที่มีการแสการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน100A วิธีการติดตั้ง
มี 2 แบบที่นิยมคือ Plug-on (ติดตั้งง่ายแค่ดันตัวเบรคเกอร์เข้ากรอบที่เตรียมไว้)
และ Din-rail (ใช้เครื่องมือช่างทั่วๆไปในการประกอบ) ขนาดที่ใช้มีแบบ 1,2,3,4 Pole
(แกนสลับขึ้นลง) ใช้ได้ทั้งกระแสไฟฟ้าแบบ 1เฟส และ 3เฟส การใช้งานปกติจะติดตั้งใน
ตู้โหลดเซ็นเตอร์หรือในแผงจ่ายไฟฟ้าที่อยู่ตามห้อง(Consumer unit)

– RCDs (Residual Current Devices) คืออุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้สำหรับตัด/ป้องกันกันไฟรั่ว
ไฟดูด มี 3 ประเภทตามความต้องการใช้งาน ได้แก่ RCBO (ป้องกันไฟดูดช๊อต),
RCCB (ตัดไฟเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส), ELCB (ป้องกันไฟดูด มักใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีปุ่มเทส)

– MCCB (Moulded Case Circuit Breakers) คือเบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า
รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่100-2,300A
แรงดันไม่เกิน1,000โวลต์ นิยมใช้ในตู้ไฟฟ้า Local panel ในอาคารขนาดใหญ่

– ACB (Air Circuit Breakers) เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในหมวดLow Voltage
ทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง6,300A สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่างๆเข้าไปได้ตามความต้องการ
นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงาน ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง

   2. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง ( Medium Voltage Circuit Breakers )
อาจจะประกอบเข้าไปในตู้เหล็กสวิตช์ขนาดใหญ่ (metal-enclosed switchgear lineups)
สำหรับใช้ในอาคารหรืออาจใช้เป็นชิ้นส่วนติดตั้งภายนอกในสถานีย่อย เช่น แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (ACB) ที่มีการอัดน้ำมันเข้าไปให้ทำงาน สำหรับใช้งานภายนอกอาคาร แต่ปัจจุบันหันมาใช้เบรคเกอร์สูญญากาศ (Vacuum Circuit Breakers) แทน มีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 40.5 กิโลโวลต์ เบรกเกอร์เหล่านี้ทำงานโดยรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า ลักษณะของเบรกเกอร์แรงดันไฟปานกลางได้การรับรองจากมาตรฐาน IEC 62271 และเบรกเกอร์ชนิดนี้มักใช้เซ็นเซอร์กระแสสลับและรีเลย์ป้องกันแทนการใช้เซ็นเซอร์วัดความร้อนหรือแม่เหล็กในตัว

   3. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง ( High Voltage Circuit Breakers )
เครือข่ายการส่งกำลังไฟฟ้ามีการป้องกันและควบคุมโดยเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง ความหมายของ “แรงดันไฟฟ้าสูง” อาจมีความแตกต่างกันไป แต่ในงานส่งกำลังจะมีขนาดแรงดันไฟ 72.5 kV หรือสูงกว่า (ตามคำจำกัดความล่าสุดของ IEC) เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟสูงจะทำงานด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้าอีกที ในส่วนของชุดรีเลย์ป้องกันที่ซับซ้อนนั้น ช่วยป้องกันอุปกรณ์จากโหลดเกินหรือไฟรั่วลงดินได้

🧷 ขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก : AAA automation
🛒 อุปกรณ์วัดค่ากระแสไฟ Online : ดูสินค้า
💌 Inbox : m.me/powermeterline
📞 02-068-0699
📱 096-750-9982
💚 LINE@ : @Powermeterline (อย่าลืมใส่@ข้างหน้าตอนพิมพ์ชื่อด้วยนะคะ)

Powermeterline
Powermeterline
Powermeterline

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *