มาตรฐานของเครื่องอุปกรณ์และสายไฟฟ้า
เมษายน 27, 2019การวัดความต้องการกําลังไฟฟ้า
เมษายน 29, 2019
แนวปฏิบัติในการลดค่าไฟฟ้า คือ ต้องใช้ไฟฟ้าในลักษณะที่สอดคล้องกับวิธีการคิดเงินค่าไฟฟ้า คือ ต้องดูว่า เสียค่าไฟฟ้าแบบใด เป็นแบบอัตราปกติ อัตรา TOD หรืออัตรา TOU แล้วปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับวิธีการคิดเงินก็จะทําให้สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้
1. อัตราปกติ
รูปที่ 1.1 รูปแบบการใช้ไฟฟ้าตามอัตราปกติ
อัตราปกติต้องใช้ไฟฟ้าให้มีความสม่ําเสมอให้มากที่สุดเพื่อทําให้อัตราส่วน P/E มีค่าต่ําที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพราะค่าไฟฟ้าส่วนที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถควบคุมได้ คิดจาก 210P/E ( บาทต่อหน่วย )
🔸 ทํางาน 1 กะ ต้องกระจายโหลดให้เท่ากันทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายหลีกเลี่ยงการทํางานพิเศษซ้อนทับ การทํางานปกติ
🔸 ทํางาน 2 กะ ต้องกระจายโหลดให้เท่ากันทั้ง 2 กะ
🔸 ทํางาน 3 กะ ต้องกระจายโหลดให้เท่ากันทั้ง 3 กะ
🔸 ทํางาน 2 กะ ดีกว่าทํางาน 1 กะ ( เน้นการตลาดมากขึ้น )
🔸 ทํางาน 3 กะ ดีกว่าทํางาน 2 กะ ( เน้นการตลาดมากขึ้นไปอีก )
🔸 ทํางาน 6 วัน ดีกว่าทํางาน 5 วัน
รูปที่ 1.2 การทํางานแบบ 1 กะ
รูปที่ 1.3 การทํางานแบบ 2 กะ
2. อัตรา TOD
รูปที่ 2.1 รูปแบบการใช้ไฟฟ้าตามอัตรา TOD
อัตรา TOD ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าตอนหัวค่ํา ( 18:30 – 21:30 น. วันละ 3 ชั่วโมง ) ให้มาก ที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพราะค่าไฟฟ้าส่วนที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถควบคุมให้ลดลงได้ส่วนใหญ่จะคิดมาจาก 242P/E (บาทต่อหน่วย )
🔹 หลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าตอนหัวค่ํา
🔹 ใช้ไฟฟ้าตอนหัวค่ําให้สม่ําเสมอที่สุด เพื่อไม่ให้ P มีค่าสูง
🔹 เน้นกิจกรรมหลักในช่วงกลางคืน ( 21:30 – 08:00 น.) แทนกิจกรรมตอนกลางวันหรือหัวค่ํา
🔹 ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันให้สม่ําเสมอมากที่สุดเพื่อไม่ให้ PP มีค่าสูง
🔹 หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าตอนหัวค่ําได้ควรพิจารณาเปลี่ยนไปใช้อัตรา TOU แทน ( ต้อง วิเคราะห๋ ความเหมาะสมก่อนดําเนินการ )
รูปที่ 3.1 รูปแบบการใช้ไฟฟ้าตามอัตรา TOU
อัตรา TOU ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าในช่วง ON – PEAK ( 09:00 – 22:00 น. ของวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ที่ ไม่ใช่วันหยุดราชการตามปกติ ) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้เพื่อลดความต้องการพลัง ไฟฟ้าสูงสุด P และปริมาณ พลังงานไฟฟ้า Ep ให้ต่ำลง เนื่องจากค่าไฟฟ้าส่วนที่ผู้ใช้ไฟฟ้าตามอัตรา TOU สามารถควบคุมให้ลดลงได้จะคิดมา จาก 142.2351P/E และ 1.608852Ep/E ( บาทต่อหน่วย )
🔸 หลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันถึงช่วงหัวค่ํา ( 09:00 – 22:00 น. ) ของวันทําการ
🔸 หลีกเลี่ยงการทํางานพิเศษเป็นครั้งคราวในช่วงกลางวันถึงหัวค่ําของวันทํางานตามปกติ
🔸 ใช้ไฟฟ้าตอนกลางวันถึงช่วงหัวค่ําของวันทําการปกติให้สม่ําเสมอที่สุด เพื่อไม่ให้ P มีค่าสูง
🔸 เน้นกิจกรรมหลักในช่วงกลางคืนถึงตอนเช้า ( 22:00 – 09:00 น. ) ของวันทําการปกติ
🔸 เน้นกิจกรรมหลักในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการตามปกติทั้งวันตลอด 24 ชั่วโมง
🔸 หากไม่ทํางาน 7 วันต่อสัปดาห์ ให้หยุดงานวันธรรมดาแทนวันเสาร์ วันอาทิตย์