คือเครื่องกลที่ใช้สร้างหรือผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อขดลวดหมุนตัดเส้นแรงแม่เหล็กก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด จึงต้องมี ตัวต้นกําลังเป็นตัวหมุนสนามแม่เหล็กให้ตัดกับขดลวด
คือเครื่องกลที่ใช้สร้างหรือผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อขดลวดหมุนตัดเส้นแรงแม่เหล็กก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด จึงต้องมี ตัวต้นกําลังเป็นตัวหมุนสนามแม่เหล็กให้ตัดกับขดลวด
หลักการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับจะเหมือนกันคือ เมื่อ ขดลวดตัดกับเส้นแรงแม่เหล็ก หรือเส้นแรงแม่เหล็กหมุนตัดกับขดลวดตัวนํา จะเกิดแรงดันไฟฟ้าใน ตัวนํา ส่วนประกอบที่สําคัญคือ
1. เครื่องต้นกําลัง ทําหน้าที่ขับเครื่องกําเนิดไฟฟ้าให้หมุนเพื่อให้ขดลวดหมุนตัดกับ สนามแม่เหล็ก การขับให้เครื่องกําเนิดไฟฟ้าหมุนนั้นอาจใช้พลังงานจากหลายแหล่งเช่น เครื่องยนต์ พลังงานน้ํา ความร้อน และพลังงานลม เป็นต้น เครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่ใช้ทั่วไปในงานอุตสาหกรรมจะใช้ พลังงานจากเครื่องยนต์ มีส่วนประกอบที่สําคัญคือ
2. เครื่องกําเนิดไฟฟ้า หรือ ออลเตอร์เนเตอร์ (alternator) เป็นตัวที่ทําหน้าที่สร้าง กระแสไฟฟ้า มีส่วนประกอบที่สําคัญคือ
3. แผงควบคุม ทําหน้าที่ดังนี้
ไฟฟ้า ปกติจะเป็นชนิดที่ทํางานโดยอัตโนมัติจากการควบคุมของแผงควบคุม
การส่องสว่าง
1. หลักการส่องสว่าง ความสว่างเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการมองเห็นของมนุษย์ อีกทั้ง ยังให้อารมณ์กับผู้มองเห็นอีกด้วย การส่องสว่างจึงต้องมีความสว่างที่เพียงพอ มีความถูกต้องของสีที่ มองเห็น และให้ความรู้สึกสบายด้วย การให้แสงสว่างมีหลักการดังนี้
(1) การให้แสงสว่างทั่วพื้นที่ เป็นการให้ความสว่างทั่ว ๆ ไปไม่เฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง การติดตั้งดวงโคมก็จะกระจายทั่วไป ความสว่างจึงเท่ากันหมดไม่เลือกจุดที่ต้องการใช้งานเป็นพิเศษ จึงสิ้นเปลืองพลังงานสูง ตัวอย่างที่เห็นได้คือ ตามห้างสรรพสินค้า หรือในห้องเรียน เป็นต้น แต่ก็มีข้อดี ในแง่ที่สามารถเปลี่ยนตําแหน่งการทํางานได้อย่างคล่องตัว
(2) การให้แสงสว่างเฉพาะที่ เป็นการเลือกให้แสงสว่างเฉพาะจุดที่ต้องการใช้งานจริง ๆ โดยแสงสว่างในส่วนที่ไม่ได้ใช้งานจะสว่างน้อยกว่าปกติ มีข้อดีในแง่ของการประหยัดพลังงาน แต่ อาจขาดความคล่องตัวในการทํางานบางอย่างที่ต้องเปลี่ยนแปลงจุดทํางานบ่อย เหมาะกับการทํางาน หรือกานผลิตที่ตําแหน่งการใช้งานไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงเช่น ในสายงานการผลิต (line process) เป็นต้น
(3) การให้แสงสว่างเฉพาะตําแหน่ง เป็นการให้แสงสว่างเพิ่มเติมเฉพาะกับตําแหน่ง
หรืองานที่ต้องการความสว่างมากกว่าปกติ หรืองานที่ต้องการความละเอียดสูง ทําได้โดยการเพิ่มดวง
โคมในจุดที่ต้องการเช่น โต๊ะเขียนแบบ โต๊ะเจียระไน เป็นต้น วิธีนี้ถือเป็นวิธีการให้ความสว่างที่ ประหยัดที่สุด และยังมีข้อดีในแง่ของการควบคุมตําแหน่ง และทิศทางความสว่างอีกด้วย
ทํางาน ต่างกัน ตามชนิดและความต้องการใช้งาน หลอดไฟฟ้าบางชนิดให้ความสว่างมากในขณะที่สีที่ ออกมาจากหลอดอาจทําให้วัสดุที่มองเห็นมีสีผิดเพี้ยนไปจากเดิมบ้าง แต่หลอดบางชนิดให้สีของวัสดุ ถูกต้อง แต่ไม่ประหยัดพลังงาน และอาจมีอายุการใช้งานสั้น การเลือกใช้งานจึงต้องดูความต้องการ ของงานประกอบด้วย หลอดไฟฟ้าที่นิยมใช้ทั่วไปมีดังนี้
(1) หลอดอินแคนเดสเซนต์
เรียกกันโดยทั่วไปว่าหลอดไส้ ลักษณะเป็นหลอดที่มีไส้หลอดด้วย เป็นหลอดที่ให้ ปริมาณแสงสว่างต่อพลังงานไฟฟ้าน้อย (ลูเมนต่อวัตต์) ในทางเทคนิคเรียกว่ามีประสิทธิผลต่ํา หมายถึงไม่ประหยัดไฟฟ้านั่นเอง และอายุการใช้งานสั้นประมาณ 1,000-3,000 ชั่วโมง แต่ให้แสงที่มี ค่าความถูกต้องของสี 100 % ขั้วหลอดมี 2 แบบ คือแบบเขี้ยว (B22) และแบบเกลียว (E27)
(2) หลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดที่อาศัยหลักการทํางานโดยให้อิเล็กตรอนวิ่งไป ชนอะตอมของสารปรอท การทํางานคือ ในการจุดติดครั้งแรก จะอาศัยตัวสตาร์ตเตอร์และบัสลาสต์ เป็นตัวสร้างความต่างศักย์ที่มีค่าสูงระหว่างขั้วทั้งสองของหลอด เพื่อกระตุ้นให้อิเล็กตรอนหลุดออก จากอิเล็กโตรด วิ่งไปยังอิเล็กโตรดตรงข้าม ไปชนกับอะตอมของสารปรอท กระตุ้นให้ปรอทคาย พลังงานออกมาเป็นแสงอัลตร้าไวโอเลต (UV) กระทบกับสารฟอสเฟอร์ที่ผนังหลอด เรืองแสงที่ มองเห็นได้ออกมา
หลอดชนิดนี้จึงถือว่าเป็นหลอดปล่อยประจุความดันไอต่ํา สีของหลอดมี 3 แบบคือ เดย์ไลท์ (daylight) คูลไวท์ (cool white) และวอร์มไวท์ (warm white) ชนิดของหลอดชนิดนี้ที่ใช้ งานกันทั่วไปคือแบบทรงกระบอก ขนาด 18 และ 36 วัตต์ และทรงกลม (Circular) ขนาด 22, 32 และ 40 วัตต์ และให้ความสว่างต่อพลังงานที่ใช้ (ประสิทธิผล) ประมาณ 50-80 ลูเมนต่อวัตต์ ถือว่า สูงพอสมควรและประหยัดค่าไฟฟ้าเมื่อเทียบกับหลอดอินแคนเดสเซนต์ซึ่งมีค่าประมาณ 10-15 ลูเมน ต่อวัตต์ และหลอดนี้มีอายุการใช้งานประมาณ 9,000-12,000 ชั่วโมง
วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์
(3) หลอดคอมแพกฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบให้มีรูปร่างกระทัดรัดขึ้น เพื่อความสะดวกและสวยงามในการใช้งาน เรียกกันทั่วไปว่าหลอดตะเกียบ ปัจจุบันมีการผลิตหลายรูปทรง ทั้งที่เป็นแท่งเหมือนตะเกียบและที่เป็นเกลียว เป็นหลอดปล่อยประจุ ความดันไอต่ํา สีของหลอดมี 3 แบบคือ เดย์ไลท์ (daylight) คูลไวท์ (cool white) และวอร์มไวท์ (warm white) เช่นเดียวกันกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบที่ใช้งานกันมากคือหลอดเดี่ยว ตัวอย่าง ขนาดวัตต์ที่มีใช้งานคือ 5, 7, 9 และ 11 วัตต์และหลอดคู่ มีขนาดวัตต์ 10, 13, 18 และ 26 วัตต์ เป็น หลอดที่พัฒนาขึ้นมาแทนที่หลอดอินแคนเดสเซนต์ โดยที่ขั้วหลอดสามารถใส่ขั้วรับหลอดที่ใช้กับ หลอดไส้ได้โดยตรง ขั้วหลอดมักทําเป็นชนิดเกลียว แต่บางผู้ผลิตอาจผลิตขั้วหลอดรูปทรงพิเศษ ออกไปก็ได้ มีประสิทธิผลสูงกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ คือประมาณ 50-80 ลูเมนต่อวัตต์ และ อายุ การใช้งานประมาณ 5,000-8,000 ชั่วโมง
(4) หลอดโซเดียมความดันไอต่ํา หลอดประเภทนี้มีสีเหลืองจัด จะเห็นการติดตั้งใช้งานกับไฟถนน โดยเฉพาะที่บริเวณ 4 แยก เนื่องจากเป็นหลอดที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในบรรดา หลอดทั้งหมด คือ มีประสิทธิผลประมาณ 120-200 ลูเมนต่อวัตต์ แต่ให้ความถูกต้องของสีน้อยที่สุด คือ มีความถูกต้องของสีเป็น 0 % (มีความผิดเพี้ยนสูง) ข้อดีของแสงสีเหลืองเป็นสีที่มนุษย์สามารถ มองเห็นได้ดีที่สุด หลอดประเภทนี้จึงเหมาะเป็นไฟถนนและอายุการใช้งานนานประมาณ 16,000 ชั่วโมง หลอดมีขนาดวัตต์ 18, 35, 55, 90, 135 และ 180 วัตต์
(5) หลอดโซเดียมความดันไอสูง หลอดโซเดียมความดันไอสูงมีประสิทธิผลรองจาก หลอดโซเดียมความดันไอต่ํา คือ มีประสิทธิผลประมาณ 70-90 ลูเมนต่อวัตต์แต่ความถูกต้องของสี ดีกว่าหลอดโซเดียมความดันไอต่ํา คือ 20 % เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความส่องสว่างมาก เช่น ไฟ ถนน ไฟบริเวณ ซึ่งต้องการความส่องสว่างประมาณ 5-30 ลักซ์ และอายุการใช้งานประมาณ 24,000 ชั่วโมง มีขนาดวัตต์ 50, 70, 100, 150, 250, 400 และ 1,000 วัตต์
(6) หลอดปรอทความดันไอสูง เรียกกันโดยทั่วไปว่าหลอดแสงจันทร์ มีหลาย รูปทรง มีทั้งชนิดที่ใช้บัลลาสต์ และไม่ใช้บัลลาสต์ เป็นหลอดที่มีประสิทธิผลสูงพอกับหลอดฟลูออเรส เซนต์ คือ มีประสิทธิผลประมาณ 50-80 ลูเมนต่อวัตต์ แสงที่ออกมามีความถูกต้องของสีประมาณ 60 % ส่วนใหญ่ใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์เมื่อต้องการวัตต์สูงๆในพื้นที่ที่มีเพดานสูง และอายุการใช้ งานประมาณ 8,000-24,000 ชั่วโมง มีขนาดวัตต์ 50, 80, 125, 250, 400, 700 และ 1,000 วัตต์
(7) หลอดเมทัลฮาไลด์ หลอดเมทัลฮาไลด์ก็เหมือนกับหลอดปล่อยประจุอื่น ๆ แต่มี ข้อดีตรงที่มีสเปกตรัมแสงทุกสี ทําให้สีทุกชนิดเด่นภายใต้หลอดชนิดนี้ ให้ความถูกต้องของสีสูง ส่วน ใหญ่นิยมใช้กับสนามกีฬาที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ มีอายุการใช้งานประมาณ 6,000-9,000 ชั่วโมง และมีขนาดวัตต์ 100, 125, 250, 300, 400, 700 และ 1,000 วัตต์
(8) หลอดทังสเตนฮาโลเจน เป็นหลอดไส้ชนิดหนึ่ง แต่มีประสิทธิผลสูงกว่าหลอดไส้ ทั่วไป และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า ในหลอดแก้วมีการเติมก๊าซไว้ด้วย และมีการฉาบผิวหลอด เพื่อสะท้อนความร้อน เป็นการประหยัดพลังงาน ใช้ในโรงภาพยนตร์ ร้านค้า และภายนอกอาคาร ทั่วไป อายุการใช้งานประมาณ 4,000 ชั่วโมง
⚡ POWERMETERLINE⚡วัดค่ากระแสไฟฟ้า(AC)นะคะ ได้ทั้ง โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล อาคารขนาดใหญ่ ฯ เพียงขอให้มีกระแสเราก็สามารถวัดได้นะคะ!!!!
💌 Inbox : m.me/powermeterline
💚 [email protected] : @Powermeterline (อย่าลืมใส่@ข้างหน้าตอนพิมพ์ชื่อด้วยนะคะ)