ในการพิจารณาเพื่อค่าความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุดจําเป็นต้องทําความเข้าใจกับคําว่าตัวประกอบโหลด (Load factor) เสียก่อน ตัวประกอบโหลดเป็นค่าที่ได้จากการวัดความสม่ําเสมอของการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมี สมการการคํานวณดังนี้
พิจารณาสมการตัวประกอบโหลด จะเห็นว่าตัวแปรที่ทําให้เปอร์เซ็นต์ตัวประกอบโหลดสูงหรือต่ําจะมีอยู่ 2 ตัวคือ จํานวนหน่วยพลังงานที่ใช้ (กิโลวัตต์ชั่วโมง) และจํานวนกิโลวัตต์สูงสุดหรือความต้องการกําลังไฟฟ้า สูงสุด
วิธีการที่จะเพิ่มค่าตัวประกอบโหลดให้สูงขึ้นสามารถกระทําได้ 2 วิธีคือ
(1) ลดจํานวนค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ลง
(2) ปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีความสม่ําเสมอในการใช้งาน เพื่อลดการใช้จํานวนกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลง เช่นสลับการทํางาน แบ่งกะในการทํางานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดความสมดุลกับจํานวนความต้องการ พลังงานไฟฟ้าสูงสุด ทําให้เพิ่มค่าตัวประกอบโหลด ส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าที่ลดลง เป็นการทราบกันโดยทั่วไปว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละรายมีการใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ผู้ใช้ไฟฟ้าบางกลุ่มจะ ใช้ไฟฟ้าค่อนข้างจะสม่ําเสมอตลอดเวลา ในขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าอีกกลุ่มหนึ่งอาจใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา การที่จะบอกว่าผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ําเสมอหรือเปลี่ยนแปลงมาก สามารถบอกได้โดยใช้ตัว ประกอบการใช้ไฟฟ้าหรือโหลดแฟคเตอร์โดยตัวย่อว่า LF
การคํานวณหาค่าตัวประกอบโหลดรายวัน
ตัวอย่าง โรงงานแห่งหนึ่งทํางาน 16 ชั่วโมง มีการบันทึกปริมาณพลังงานไฟฟ้าทุกๆชั่วโมง ตลอด 24 ชั่วโมง ปรากฏดังตารางข้างล่างนี้
วิธีหาค่าตัวประกอบโหลดรายวันที่เหมาะสม
ค่าตัวประกอบโหลดที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับชั่วโมงปฏิบัติงานของโรงงาน ถ้าทํางานวันละ 24 ชั่วโมง ค่าตัว ประกอบโหลดที่เหมาะสมควรมีค่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ถ้าทํางานวันละ 16 ชั่วโมง ค่าตัวประกอบโหลดที่เหมาะสมจะมีค่า
และถ้าทํางานวันละ 8 ชั่วโมง ค่าตัวประกอบโหลดที่เหมาะสมจะมีค่า
จากตัวอย่าง พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง = 293.33 kW โรงงานทํางานวันละ 16 ชั่วโมง ค่าตัวประกอบโหลดที่เหมาะสม = 53.33% พลังงานไฟฟ้าสูงสุดใน 24 ชั่วโมง
ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่เหมาะสมมีค่า 550 kW
สรุป
วิธีการและแนวทางแก้ตัวประกอบกําลังไฟฟ้าที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นวิธีหนึ่งที่ โรงงาน อุตสาหกรรม/ อาคาร สามารถนําไปใช้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าลงได้มาก แต่ต้องมีการลงทุนในการ ติดตั้งอุปกรณ์ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่สูงพอสมควร โดยเฉพาะในบางหน่วยงานที่มีความจําเป็นในการแก้ปัญหา ค่าตัวประกอบกําลังไฟฟ้า และไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียกําลังไฟฟ้า หรือพยายามให้เกิดน้อยที่สุด มักใช้ระบบ ไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามาควบคุมและประมวลผล เพื่อควบคุมอุปกรณ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ส่งผลให้การ ทํางานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถพัฒนาระบบได้ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผลดีกับเครือข่ายตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ การดําเนินการจึงจะต้องทําการพิจารณาอย่าง รอบคอบ แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวแล้วการแก้ไขตัวประกอบกําลังไฟฟ้านับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและน่าสนใจ มาก
ค่าธรรมเนียมที่คิดจากค่าความต้องการกําลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดของเดือนนั้น อัตราค่าพลังงาน ไฟฟ้าสูงสุดมีหน่วยบาทต่อกิโลวัตต์ ถูกกําหนดโดยต้นทุนที่ใช้ในการสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่งและจําหน่ายให้แก่ ผูกใช้ไฟฟ้า จึงมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ระดับแรงดัน ไฟฟ้า และตามช่วงเวลาของวัน ซึ่ง การกําหนดให้มีโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าแตกต่างกันตามประเภทผู้ใช้ ไฟฟ้า เพื่อต้องการให้อัตราค่าไฟฟ้า สอดคล้องกับลักษณะของการใช้ไฟฟ้าและเพื่อสะท้อนถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด รวมทั้งส่งเสริมให้มี การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีการใช้ไฟฟ้าน้อยลงในช่วงความต้องการสูงสุด
⚡ POWERMETERLINE⚡วัดค่ากระแสไฟฟ้า(AC)นะคะ ได้ทั้งบ้าน โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล ฯ เพียงขอให้มีกระแสเราก็สามารถวัดได้นะคะ!!!!
💌 Inbox : m.me/powermeterline
📞 02-068-0699
📱 096-750-9982
💚 LINE@ : @Powermeterline (อย่าลืมใส่@ข้างหน้าตอนพิมพ์ชื่อด้วยนะคะ)