แรงดัน คือ ความสามารถในการผลัก ดัน ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า ค่า แรงดันไฟฟ้าเป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างตัวนำสองเส้นหรือระหว่าง 2 จุดในวงจรเดียวกันซึ่งจะมี กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ระหว่างสองจุดนั้น แรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์ (volt) หรือ กิโลโวลต์ (kilovolt) (1 กิโลโวลต์ เท่ากับ 1,000 โวลต์) ใช้อักษรย่อว่า V และ kV ตามลำดับ
กระแส คือ อิเล็กตรอนที่ไหลในตัวนำไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ หน่วยที่ใหญ่กว่าคือกิโล แอมแปร์ (1 กิโลแอมแปร์ เท่ากับ 1,000 แอมแปร์) หน่วยที่เล็กกว่า คือมิลลิแอมแปร์ (1 แอมแปร์ เท่ากับ 1,000 มิลลิแอมแปร์) มิลลิแอมแปร์ใช้อักษรย่อว่า mA แอมแปร์ ใช้อักษรย่อว่า A และกิโล แอมแปร์ใช้อักษรย่อว่า kA
วัตต์ หรือ กิโลวัตต์ คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เปลี่ยนจากไฟฟ้าเป็นกำลังงานอย่างอื่นเช่น พลังงานแสง ความร้อน และพลังงานกล (1 กิโลวัตต์ เท่ากับ 1,000 วัตต์) กิโลวัตต์ใช้อักษรย่อว่า kW และวัตต์ใช้อักษรย่อว่า W
กิโลวัตต์-ชั่วโมง คือ หน่วยที่ใช้วัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ใน 1 ชั่วโมงอาจเรียกอีกอย่างว่า หน่วย (unit) หนึ่งหน่วยก็คือหนึ่งกิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งก็คือตัวเลขที่ขึ้นที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของการ ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับคิดค่าไฟฟ้านั่นเอง
เควีเอ คือ หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายให้โหลด เป็นผลคูณของแรงดันกับ กระแส แล้วหารด้วย 1,0000 กำลังไฟฟ้านี้อาจเปลี่ยนเป็นกำลังงานที่สามารถนำไปใช้งานได้ไม่ ทั้งหมด ใช้อักษรย่อว่า kVA ( กำลังงานที่สามารถนำไปใช้งานได้ คือ กิโลวัตต์ โดยมีความสัมพันธ์ กับเควีเอ คือ กิโลวัตต์ = เควีเอ x ตัวประกอบกำลัง )
ตัวประกอบกำลัง คือ ค่าอัตราส่วนของกำลังไฟฟ้า 2 ชนิด คือ วัตต์ต่อวีเอ หรือ กิโลวัตต์ ต่อเควีเอ ใช้อักษรย่อว่า PF ( หรือ Cos θ ) เป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดมักจะมี ค่าตัวประกอบกำลังแตกต่างกันไป เป็นค่าที่ใช้เฉพาะในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
แรงม้า คือ หน่วยวัดความสามารถการทำงานของเครื่องจักร ในทางไฟฟ้ามักจะหมาย ถึง มอเตอร์ ใช้อักษรย่อว่า HP แรงม้าสามารถเทียบกับกำลังทางไฟฟ้าได้คือหนึ่งแรงม้าเท่ากับ 746 วัตต์
เฟส คือ ชนิดของการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ จำนวนเฟสคือจำนวนสายเส้นที่มีไฟ ปกติ ระบบไฟฟ้าที่มีใช้ทั่วไปคือระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส
ไฟฟ้าสถิต คือ ไฟฟ้าที่ปกติไม่มีการเคลื่อนที่ อยู่ในภาพที่เป็นประจุไฟฟ้าอยู่ในวัตถุ เกิด จากการเสียดสีของวัตถุ เช่นจากการเสียดสีของละอองน้ำในอากาศเกิดเป็นไฟฟ้าสถิตบนก้อนเมฆ ประจุไฟฟ้ามีทั้งชนิดบวกและลบ เมื่อวัตถุมีประจุต่างกันเข้ามาอยู่ใกล้กันในระยะที่หนึ่งก็จะเกิดการ คายประจุ การคายประจุระหว่างก้อนเมฆเกิดเป็นประกายไฟและมีเสียงดัง เราเรียกว่าฟ้าร้อง
ไฟฟ้ากระแส คือ ไฟฟ้าที่มีการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำไฟฟ้า ตัวอย่างตัวนำไฟฟ้าที่ เห็นได้ทั่วไปคือสายไฟฟ้า
ไฟฟ้ากระแสสลับ คือ ระบบไฟฟ้าที่การไหลของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนทิศทางกลับไปกลับมา ตลอดเวลา ไฟฟ้ากระแสสลับนี้จึงมีการเปลี่ยนขั้วจากบวกเป็นลบ และลบเป็นบวกตลอดเวลา ไฟฟ้าที่ ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ มีการเปลี่ยนขั้ว 50 รอบใน 1 วินาที เรียกว่า 50 เฮิรตซ์ (Hz) ไฟฟ้ากระแสสลับเขียนแทนด้วยอักษรย่อว่า AC สาเหตุที่นิยมใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเพราะสามารถ เปลี่ยนแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ง่าย โดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งพลังงานไฟฟ้าไปได้ ไกล และปริมาณมาก ๆ
ไฟฟ้ากระแสตรง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีขั้วแน่นอนว่าเป็นบวกหรือลบ ไม่มีการเปลี่ยนขั้ว กระแสไฟฟ้าก็จะไหลไปทิศทางเดียวตลอดเวลาเช่นแบตเตอรี่รถยนต์และถ่านไฟฉาย เขียนแทนด้วย อักษรย่อว่า DC
วงจรไฟฟ้า คือ เส้นทางเดินของกระแสไฟฟ้า เริ่มจากแหล่งจา่ยไฟฟ้าผ่านตัวนำ โหลด และ ไหลกลับมาครบวงจรที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าตัวเดิม กระแสไฟฟ้าจะไหลได้วงจรต้องต่อเนื่องตลอดเรียกว่า ครบวงจร
โหลด ( Load ) คือ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไฟฟ้าเป็นกำลังงานอย่างอื่น เพื่อใช้ งานเช่น หลอดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น
ตัวนำ คือ สิ่งที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้โดยง่าย ปกติจะเป็นโลหะเช่น เงิน ทองแดง อะลูมิเนียม วัตถุแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการนำกระแสได้ไม่เท่ากัน เงินจะมีความสามารถใน การนำกระแสสูงกว่าทองแดง และทองแดงจะสูงกว่าอะลูมิเนียม สายไฟฟ้าถือว่าเป็นตัวนำไฟฟ้า
ความต้านทาน คือ ตัวที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะตรงข้ามกับตัวนำ โหลดต่าง ๆ จะมีสภาพเป็นความต้านทาน มีหน่วยเป็นโอห์ม ถ้าความต้านทานมีค่าสูงมากจะเรียกว่าฉนวนไฟฟ้า
⚡ POWERMETERLINE⚡วัดค่ากระแสไฟฟ้า(AC)นะคะ ได้ทั้งบ้าน โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล ฯ เพียงขอให้มีกระแสเราก็สามารถวัดได้นะคะ!!!!
💌 Inbox : m.me/powermeterline
📞 02-068-0699
📱 096-750-9982
💚 LINE@ : @Powermeterline (อย่าลืมใส่@ข้างหน้าตอนพิมพ์ชื่อด้วยนะคะ)