เมื่อ
E คือ พลังงานไฟฟ้า ( หน่วย หรือ kWh )
T คือ คาบเวลาที่สนใจ ( ชั่วโมง )
P(t) คือ กําลังไฟฟ้าขณะเวลาใด ๆ ( kW )
กําลังไฟฟ้าเฉลี่ยในช่วงเวลา T หาได้จาก
หากกําหนดให้ T เป็น ชั่วโมง หรือ 15 นาที จะได้
กําลังไฟฟ้าเฉลี่ย Pav ในสมการ คือความต้องการกําลังไฟฟ้าใน 15 นาทีใด ๆ คิดมาจาก 4 เท่าของ ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่วัดได้หรือใช้ไปในช่วงเวลา 15 นาที จึงเรียกว่า 15 Minute demand
15 นาที วัด Demand ได้ 1 ครั้ง
1 ชั่วโมง วัด Demand ได้ 4 ครั้ง
1 วัน วัด Demand ได้ 96 ครั้ง
1 สัปดาห์ วัด Demand ได้ 672 ครั้ง
31 วัน วัด Demand ได้ 2976 ครั้ง
หากเสียค่าไฟฟ้าตามอัตราปกติ ในเดือนที่มี 31 วันจะใช้ Demand ครั้งที่วัดได้สูงที่สุดในจํานวน 2976 ครั้ง ที่เรียกว่า Maximum Demand หรือความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุดไปคิดเงินค่าไฟฟ้าในส่วนของค่าความต้องการ กําลังไฟฟ้า ( อัตรา 210 บาทต่อกิโลวัตต์ เมื่อรวม VAT 7% แล้ว )
หากเสียค่าไฟฟ้าตามอัตรา TOD ในเดือนที่มี 31 วันจะใช้ Demand ช่วงหัวค่าครั้งที่วัดได้สูงที่สุดในจํานวน 372 ครั้ง ( 4 × 3 × 31 ) ที่เรียกว่าความต้องการกําลังไฟฟ้าสูงสุดช่วง ON – PEAK ไปคิดเงินในอัตรา 305 บาทต่อ กิโลวัตต์ ( รวม VAT 7% แล้ว )
จากความหมายของการวัดความต้องการกําลังไฟฟ้าจะพบว่าสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ไปในทุก ๆ 15 นาที การควบคุมความต้องการกําลังไฟฟ้าจึงเป็นการควบคุมปริมาณพลังงาน ไฟฟ้าที่ จะยอมให้ใช้ ในช่วงเวลา 15 นาที เช่นหากกําหนดให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้ามีค่าไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ หมายความว่าทุก ๆ 15 นาที จะยอมให้ใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าได้ไม่เกิน 250 หน่วย ซึ่งหน่วยพลังงานที่ใช้นี้จะไปสัมพันธ์โดยตรงกับ อัตราการผลิตสินค่าด้วย
⚡ POWERMETERLINE⚡วัดค่ากระแสไฟฟ้า(AC)นะคะ ได้ทั้งบ้าน โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล ฯ เพียงขอให้มีกระแสเราก็สามารถวัดได้นะคะ!!!!
💌 Inbox : m.me/powermeterline
📞 02-068-0699
📱 096-750-9982
💚 LINE@ : @Powermeterline (อย่าลืมใส่@ข้างหน้าตอนพิมพ์ชื่อด้วยนะคะ)